แต่งตั้งผู้จัดการมรดก

หมายเลขโทรศัพท์ 065-198-9365

หรือ

ทีมงานตอบกลับภายใน 15 นาที 

บุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. บรรลุนิติภาวะ
  2. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  3. ไม่เป็นคนล้มละลาย
  4. ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

หน้าที่หลักของผู้จัดการมรดก

  1. รวบรวมทรัพย์สินของเจ้ามรดก
  2. ชำระหนี้สินของเจ้ามรดก
  3. แบ่งมรดกให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมหรือกฎหมาย

 

เอกสาร / หลักฐาน ประกอบการขอตั้งผู้จัดการมรดก

เอกสารที่ท่านควรจัดเตรียมเพื่อส่งสำเนาให้กับทนายความนำไปจัดทำคำร้องยื่นต่อศาลมีดังนี้
  1. ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
  2. มรณบัตรของผู้ตาย
  3. ทะเบียนสมรสของผู้ตาย
  4. พินัยกรรม (ถ้ามี)
  5. ทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
  6. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก (ถ้าเป็นบุตรต้องใช้สูติบัตรด้วย)
  7. หนังสือให้ความยินยอม
  8. ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ให้ความยินยอมทุกคน
  9. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาเล่มคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร เป็นต้น
  10. กรณีเจ้ามรดก หรือ ผู้ร้อง เป็นคนต่างชาติสามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทางแทนสำเนาบัตรประชาชนได้

ค่าทนายความ

ค่าทนายความร้องขอจัดการมรดกทั่วประเทศ สามารถสอบถามได้ที่ช่องทางด้านล่าง

หมายเลขโทรศัพท์ 065-198-9365

หรือ

ทีมงานตอบกลับภายใน 15 นาที 

 Credit Card

       

 

คำถามที่พบบ่อย (Q&A)

  1. ถาม : ในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น แต่งตั้งได้เพียงคนเดียวเท่านั้นใช่หรือไม่ ?ตอบ : ไม่ใช่ ท่านสามารถขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายคนเดียว หรือ หลายคนก็ได้ ขึ้นอยู่กับการประชุมหารือร่วมกันระหว่างทายาท กรณีดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กรณีที่ผู้ตายมีบุตรต่างบิดาหรือมารดา เพราะในการจัดการมรดกของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องดำเนินการร่วมกันทุกคน
  2. ถาม : ผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก จะเป็นผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดใช่หรือไม่ ?
    ตอบ : ไม่ใช่ มักเป็นความเข้าใจของหลายคน ที่เข้าใจว่าหากตนได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย แต่แท้จริงแล้ว ผู้จัดการมรดกเป็นเพียงผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้มีหน้าในการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพื่อแบ่งให้กับทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายเท่านั้น
  3. ถาม : ในการรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ตาย จำเป็นต้องหาให้ครบทั้งหมดก่อนจึงจะสามารถยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลใช่หรือไม่ ? ตอบ : ไม่จำเป็นครับ ในการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ผู้ร้องอาจจะติดตามทรัพย์สินได้เพียงบางส่วนก็ได้ เพื่อใช้ประกอบการยื่นคำร้องต่อศาล ไม่จำต้องหาเอกสารทรัพย์สินของผู้ตายให้ครบทั้งหมดเสียก่อนจึงจะทำได้ เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งแล้ว ผู้จัดการมรดกจะมีอำนาจในการตรวจสอบและข้อถึงข้อมูลทรัพย์สินของผู้ตายจากหน่วยงานราชการและเอกชนตามกฎหมาย เช่น สำนักงานที่ดิน ธนาคาร เป็นต้นฯ
  4. ถาม : หากบิดาเสียชีวิต โดยที่ก่อนเสียชีวิตบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันและมิได้จดทะเบียนรับรองบุตร บุตรที่เกิดแต่บิดานั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่ ?ตอบ : มีิสิทธิได้รับมรดก หากระหว่างที่บิดามีชีวิตอยู่ได้ให้บุตรใช้นามสกุล ส่งเสียเลี้ยงดู ให้การศึกษาและแสดงออกต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นบุตร
  5. ถาม : อายุมากแล้ว อีกทั้งสุขภาพไม่ค่อยดี สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งให้บุคคลที่ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย เป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่?ตอบ : สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ แต่ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลนั้นจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกและทายาททุกคนและตัวบุคคลที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกนั้นต้องให้ความยินยอมด้วย

 

หากเพิกเฉยไม่ยื่นแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามกฎหมาย

  1. อาจเกิดปัญหาในการจัดการมรดกได้ อาทิ ทรัพย์สินของเจ้ามรดกอาจถูกละเลยหรือสูญหาย , การชำระหนี้สินของเจ้ามรดกล่าช้าหรือไม่ถูกต้อง , เกิดความล่าช้าในการแบ่งมรดก หรือ ทายาทอาจทะเลาะกันเรื่องมรดก 
  2. เสียเวลาและค่าใช้จ่าย อาทิ ทายาทรุ่นหลังอาจต้องเสียเวลาในการดำเนินการจัดการมรดกด้วยตัวเองนานกว่ารุ่นของท่านและอาจต้องจ้างทนายความที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมรดก  
  3. เกิดปัญหาทางกฎหมาย ในการจัดการมรดกไม่ถูกต้องตามกฎหมายทายาทอาจถูกฟ้องร้อง เกิดปัญหาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน 
  4. เสียความสัมพันธ์ระหว่างทายาท เพราะอาจเกิดความขัดแย้งระหว่างทายาท เสียความสัมพันธ์ครอบครัว 

รีวิวผลงานจากลูกความผู้ใช้บริการสำนักงานของเรา

หมายเลขโทรศัพท์ 065-198-9365

หรือ

 

ทีมงานตอบกลับภายใน 15 นาที

เราพร้อมให้บริการเป็นผู้จัดการมรดกอย่างมืออาชีพ เพื่อแบ่งเบาภาระและความกังวลใจของท่านในยามเศร้าโศกนี้ ด้วยประสบการณ์อันยาวนานและความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมรดก เราจะดำเนินการจัดการและเฉลี่ยทรัพย์มรดกอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และถูกต้องตามเจตนารมณ์ของผู้ล่วงลับ

บริการของเราครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย อันได้แก่:

  1. การจัดทำพินัยกรรมและเอกสารสำคัญเกี่ยวกับมรดก
  2. การสืบหาและรวบรวมทรัพย์สินในกองมรดก
  3. การชำระหนี้สินและภาษีมรดกตามกฎหมาย
  4. การแบ่งปันและโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกแก่ทายาทโดยธรรม
  5. การยื่นคำร้องขอต่อศาลในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับมรดก

ไม่ว่ากองมรดกจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด เราพร้อมอุทิศตนเพื่อจัดการมรดกอย่างเต็มความสามารถ เสมือนเป็นคนในครอบครัวของท่าน ความไว้วางใจของท่านคือสิ่งสำคัญสูงสุดของเรา เราจะดำเนินการทุกอย่างด้วยความระมัดระวัง ปราศจากข้อผิดพลาด เพื่อสนองเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของผู้ล่วงลับ และเพื่อมอบความสงบสุขทางใจให้แก่ครอบครัวของท่าน

อย่าให้การจัดการมรดกกลายเป็นภาระที่หนักอึ้งสำหรับท่านเลย ปรึกษาเราตั้งแต่วันนี้ เพื่อวางแผนและเตรียมการล่วงหน้า ให้การส่งต่อความรักความผูกพันผ่านมรดกเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ เราพร้อมอยู่เคียงข้างและเป็นที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ของท่านในทุกขั้นตอน เพียงคุณมอบความไว้วางใจ เราจะมอบคุณภาพการบริการที่เหนือระดับ เพื่อสร้างความอุ่นใจและความพึงพอใจสูงสุดแก่ท่าน

Visitors: 357,040