ตั้งผู้จัดการมรดก
บริการตั้งผู้จัดการมรดก (ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ)
การตั้งผู้จัดการมรดก คือ การยื่นคำร้องขอต่อศาลกรณีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและมีทรัพย์สินตกทอดแก่ทายาท อาจจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งมีทะเบียน เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนอาวุธปืน เป็นต้น ทรัพย์สินเหล่านี้ในการจัดการมรดกเจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนหากไม่มีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อน ด้วยเหตุขัดข้องดังกล่าวจึงทำให้ราษฎรจำนวนมากต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อนเพื่อดำเนินการรวบรวมทรัพย์สินของผู้ตายนำไปทำการแบ่งปันให้กับทายาทตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับดังนี้
1.ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
2.บิดา มารดา
3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4.พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน
5.ปู่ ย่า ตา ยาย
6.ลุง ป้า น้า อา
เอกสาร / หลักฐาน ประกอบการขอตั้งผู้จัดการมรดก
เอกสารที่ท่านควรจัดเตรียมเพื่อส่งสำเนาให้กับทนายความนำไปจัดทำคำร้องยื่นต่อศาลมีดังนี้
1.ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
2.มรณบัตรของผู้ตาย
3.ทะเบียนสมรสของผู้ตาย
4.พินัยกรรม (ถ้ามี)
5.ทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
6.บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก (ถ้าเป็นบุตรต้องใช้สูติบัตรด้วย)
7.หนังสือให้ความยินยอม
8.ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ให้ความยินยอมทุกคน
9.เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาเล่มคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร เป็นต้น
10.กรณีเจ้ามรดก หรือ ผู้ร้อง เป็นคนต่างชาติสามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทางแทนสำเนาบัตรประชาชนได้
หมายเหตุ ต้นฉบับเอกสารทั้งหมดท่านต้องนำไปแสดงต่อศาลในวันที่ทำการไต่สวนคำร้อง
ระยะเวลาดำเนินการ
ประมาณ 2-3 เดือน